สถิติการเข้าดูหน้า Blog

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ฝากประจำแบบปลอดภาษี 24 เดือน

      เมื่อวันที่  16 มิถุนายนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปที่ธนาคารกรุงไทย สาขาบิ๊กซีบางพลี เพื่อไปจ่ายหนี้กองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.นั้นเองครับ) ระหว่างรอเห็นมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินน่าสนใจหลายตัวเลย หนึ่งในนั้นคือ บัญชีเงินฝาก KTB Zero Tax นั้นเอง ก่อนหน้านี้ผมเคยศึกษาเรื่องบัญชีเงินฝากปลอดภาษีมาบ้างพอสมควร เอาจริงๆเลยนะครับ เนื้อหาน่างงเหมือนกันอัตราการคิดดอกเบี้ย พอมาคิดดอกเบี้ยดู แม่เจ้าน้อยมากๆ อะไรมันช่างน้อยขนาดนี้ เล่นกองทุนรวมต่อไปดีกว่า จึงไม่เคยสนใจซักที จนเวลาล่วงเลยผ่านมายังปีที่ 4 ของการทำงาน เราเองคิดว่าเราสามารถออมเงินที่มีผลตอบแทนได้มากกว่า ดอกเบี้ย 3% ต่อปีได้อยู่แล้ว ผมปรากฎว่า 4 ปีผ่านไป เงินเก็บมีไหม มีครับ แต่ถามเล่นๆว่าถึง 48,000 บาทไหม ไม่ถึง (เพราะฝากแบบปลอดภาษีขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 1,000 บาท 4 ปีอย่างน้อยก็ 48,000 บาท) 




ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
      คำตอบมันง่ายมากครับ หาเงินหมื่นไม่ยากสำหรับคนทำงาน มนุษย์เงินเดือนทั่ว แต่เก็บเงินหมื่นยากยิ่งกว่า เพราะโดยมากผมขาดวินัยในการออม เมื่อก่อนผมเก็บเงินส่วนมากผ่านกองทุนรวมครับ ซื้อขั้นต่ำก็ 1,000 บาทเช่นกัน แต่หากราคาขึ้นไอ้ผมก็เสียดายที่จะซื้อ หากราคาลงก็เสียดายเผื่อมันลงอีก จนท้ายไม่ค่อยได้ซื้อ เงินที่จะซื้อเอามาใช้เองหมด ผ่านไปแป๊บๆ 4 ปี ปรากฎว่าดีกว่าชาวบ้านนิดหน่อยที่พอมียามเตือนร้อนไม่ลำบาก แต่ยังถือว่าแย่ เพราะเพื่อนฝูงต่างมีบ้าน มีรถมีครอบครัวกันไปหมดแล้ว เรามาทำอะไรอยู่เนี้ย 
จะทำอย่างไรดี 
      ผมจึงมีความคิดว่าวินัยในการออมสำคัญที่สุด หากผมมีวินัยมากกว่านี้ ก็คงมีเงินมากกว่านี้เช่นกัน ผมจึงเริ่มลงมือ เลือกซักธนาคาร เอาที่สะดวก ที่เลือกธนาคารนี้เพราะมีตู้ฝากถอดอยู่ไม่ไกล (ไม่ได้สนใจดอกเบี้ยเพราะมันน้อย ม๊าก มาก) แต่เราคิดว่า  4 ปีที่ผ่านมามันเร็วจริงๆ แต่คิดว่าไม่สาย เอาเลยแล้วกัน หลังจากดูรายละเอียดซักพัก ขอเปิดบัญชีเลย โดยผูกกับอีกบัญชีเพื่อให้ครบกำหนดแล้วยอดเงินจะได้ถูกโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทยเลย โดยเริ่มที่ 1,000 บาท โดยผมต้องฝากทุกเดือน ไปจนครบ 24 งวด หรือ 2 ปีนั้นเอง โดยที่การฝากประเภทนี้ปลอดภาษี นะครับ เพราะการฝากเงินแบบฝากประจำพวกนี้เสียถาษี 15% ด้วยโดยหักจากอัตราดอกเบี้ยที่เราได้ แต่การฝากแบบนี้ไม่หักครับได้เต็มๆ แถมมีบวกพิเศษให้ด้วย แต่เท่าที่ผมเคยถามผู้รู้มานะครับ หากดอกเบียไม่ถึง 20,000 บาท ก็ไม่เสียภาษีอยู่ดี อันนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจเพราะต้องใช้เงินขนาดไหนมาฝากละ ถึงได้ดอกเบี้ย 20,000 บาท คิดมากไปก็เท่านั้น เพราะการฝากแบบนี้เพื่อนฝึกวินัยครับ ต้องท่องเอาไว้
การคิดดอกเบี้ยคิดอย่างไร
      อันนี้สอบถามจากผู้เคยฝากนะครับ คือเขาจะคิดดอกเบี้ยให้เลย สมมุติ (3% X เงินต้น )X 2 ปี น้อยมาก ผมลองหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตดูแล้ว ทุกคนตอบไม่เหมือนกันเพราะน้อยคนนักที่จะสนใจ เพราะดอกมันน้อยมาก อย่างที่บอก
ตัวอย่างรายละเอียดของธนาคารกรุงไทย 
ฝากทุกเดือนต่อเนื่อง 24 เดือน 
  • ได้รับดอกเบี้ยฝากประจำ 24 เดือน (วงเงินต่ำสุดตามประกาศของธนาคารในขณะที่นำฝาก +0.25%ต่อปี
  • คำนวณดอกเบี้ยทุกวันจากยอดคงเหลือในบัญชี ด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้น และจ่ายดอกเบี้ยให้เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการฝาก
  • อัตราดอกเบี้ยจะเปลี่ยนแปลงทันทีตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ดูประกาศอัตราดอกเบี้ย
  • ได้รับการยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15%

ออมเงินอย่างชาญฉลาดเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่เห็นความสำคัญของการสร้างวินัยและวางแผนทางการเงิน

เงื่อนไขการฝาก 
  • เปิดบัญชีขั้นต่ำ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
  • ฝากติดต่อกันทุกเดือน เดือนละ ครั้ง เป็นจำนวนเงินเท่ากับที่เปิดบัญชี
  • ผู้ฝากสามารถฝากได้ทุกวันในเวลาทำการของธนาคารภายในเดือนนั้นๆ
  • รับฝากเป็นเงินสด หรือ เช็คของสาขาตนเอง หรือเช็คภายในท้องถิ่นที่สามารถเรียกเก็บเงินได้ภายในเดือนเดียวกับวันที่นำฝาก
  • ในระยะเวลาฝาก 24 เดือน จะขาดการฝากได้ไม่เกิน ครั้ง
  • เงินฝากที่ฝากไม่ถึง เดือนไม่จ่ายดอกเบี้ย
  • เงินฝากที่ฝากมาแล้วไม่น้อยกว่า เดือนแล้วมีเหตุไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือฝากต่อได้หรือถอนเงินก่อน ครบกำหนด จะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และจะต้องเสียภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากนั้น
  • เมื่อครบกำหนดฝาก ธนาคารจะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีคู่โอน (บัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน)สำหรับเงินต้นจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากประจำ เดือน หรือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ตามที่ผู้ฝากเงินได้แจ้งไว้กับธนาคาร
เอกสารประกอบการเปิดบัญชี 
บุคคลธรรมดา   
  • บัตรอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ  บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ บัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐที่ระบุเลขบัตรประจำตัวประชาชน 
  • ผู้เยาว์ที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ต้องใช้ทะเบียนบ้านที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน หรือสูติบัตร และเอกสารแสดงตนของผู้ปกครอง

สถานะตอนนี้ผมได้ลองฝากมาแล้ว 5 เดือน (3/10/56) เหลืออีก 19 เดือน เราคิดเสียว่าเราผ่อนอะไรซักอย่างอีกเท่านั้นเองครับ เป็นกำลังใจให้เพื่อนๆทุกคนมีเงินออม



 น้องซิ่ง โลกสวย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น