สถิติการเข้าดูหน้า Blog

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เมื่อผมซื้อกองทุนรวม KF-HEALTHD (ตอนที่ 1)

          โดยปกติแล้วผมก็ซื้อพวกกองทุนรวมพวกนี้อยู่แล้วครับ  แต่วันหนึ่งผมลองไปลงทุนในหุ้นแทนเลยขายกองทุนในประเทศที่เคยซื้อออกไปซื้อหุ้น  เมื่อผ่านการลงทุนมาได้ซักพักผมพบว่าหุ้นมันยากกว่าที่ผมคิดครับ ผมอาจพลาดก็ได้  แต่เป้าหมายผมยังคงเดิมครับ คือผมเเบ่งเงินออมพวกนี้ไปในการลงทุน  ระยะสั้น  ระยะปานกลาง  และระยะยาวครับ  แต่วันนี้ขอพูดถึงการออมระยะยาวครับ  เพราะผมตั้งใจว่าจะซื้อเพื่อการลงทุนไว้เพื่อใช้ยามเกษียณ จึงลองกลับไปดูกองทุนอีกครั้งเพื่อลงทุนระยะยาวแบบถัวเฉลี่ย  ผมจึงลองหากองทุนซักตัวที่เหมาะกับการลงทุนระยะยาวและคิดว่าเหมาะกับตัว


          1. มองหากองทุนที่สามารถซื้อ-ขายได้สะดวก ผมจึงเริ่มพิจารณาจากบัญชีเงินเดือนของผมครับว่าจ่ายผ่านธนาคารไหน  เพราะเมื่อเงินเดือนผมออกผมก็สามารถซื้อได้ทันที พอดีงานที่ใหม่ผมผ่านธนาคารกรุงศรีครับ เลยพิจารณาจากธนาคารนี้ก่อน อันนี้ขอเล่าจากประสบการณ์ตรงเนื่องจากมนุษย์เงินเดือนอย่างผมสามารถลงทุนได้ทีละน้อยครับ การที่ต้องซื้อกองทุนต่างธนาคารเป็นเรื่องยุ่งยาก  เพราะแน่นอนผมต้องเปิดบัญชีกับต่างธนาคาร  การโอนเงินเข้าหรือนำเงินไปฝากเพื่อจะซื้อกองทุนทุกเดือน  หลายครั้งทำให้ผมไม่ได้ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะโอนเงินไปต่างธนาคารไหนจะค่าโอน  จะนำเงินไปฝากเองไหนจะค่าเดินทาง  รอไปวันที่สะดวกสุดท้ายไม่ได้ซื้อต่อเนื่อง ฉะนั้นแล้วหากซื้อน้อยๆ แบบผม  เอาที่สะดวกเป็นที่ตั้งครับ เพราะในแต่ละธนาคารมีกองทุนที่ดีๆ แตกต่างกันไปครับ น้อยธนาคารมากที่จะบริหารกองทุนแย่ไปซะทุกกอง มันก็มีดีซักกองสิครับลองพิจารณาดู....

        2 .เลือกกองทุน เดี๋ยวนี้ในธนาคารต่างๆ  มีกองทุนให้เลือกมากมายครับเราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม โดยส่วนตัวอันนี้ผมดูภาพกว้างๆ ก่อนว่าจะลงทุนกัยธุระกิจประเภทไหนดี  สำหรับตอนนี้ผมเองลงทุนในหุ้นภายในประเทศอยู่แล้ว  จึงอยากลองกระจายความเสี่ยงไปยังหุ้นในต่างประเทศบ้าง  จึงเริ่มมองหากองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นของต่างประเทศครับ  และเจอว่าของกรุงศรีมีกองทุนแนวเฮลธ์แคร์ อยู่ 1 กองนั้นก็คือ KF-HEALTHD จึงได้ศึกษาดูรายละเอียดครับว่าเหมาะกับที่เราจะลงทุนไหม

        3. พิจารณารายละเอียดกองทุน 
        เมื่อเลือกกองทุนได้ซักกองแล้ว  ขั้นตอนต่อมาคือการพิจารณารูปแบบของกองทุน 
        3.1 ประเภทกองทุน : กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ - ลงทุนในตราสารทุน 
        3.2 นโยบายการจ่ายเงินปันผล : จ่ายไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง ในอัตราไม่ต่ำกว่า 10% ของกำไรสุทธิ และ/หรือจ่ายจากกำไรสะสมในอัตราที่บริษัทจัดการพิจารณาเห็นสมควร
        3.3 กลยุทธ์การลงทุน : ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลัก JP Morgan Global Healthcare Fund ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่ประกอบธุรกิจดูแลสุขภาพ อย่างน้อยร้อยละ 67 ของทรัพย์สินของกองทุน
        3.4 การรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ทุกวันทำการซื้อขายของกองทุนภายในเวลา 15.30 น. (ไม่รับในกรณีสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก)
         3.5 การชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน ภายใน 4 วันทำการ หลังจากวันทำรายการ (T+4)

        4. ดูราคาย้อนหลังและการปันผลที่ผ่านมา 
         ด้านราคาย้อนหลังถือว่าไม่สูงมา (เพราะมีปันผล) แต่ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนถือว่าสูงมากครับ นั้นอาจเป็นเพราะปันผลที่ผ่านมา ลองดูปันผลที่ผ่านมาด้วยประกอบ เงินปันผลสูงถึง 1.5 บาท/หน่วย

ราคาและผลตอบแทน  KF-HEALTHD
เงินปันผล KF-HEALTHD
         5. ค่าธรรมเนียม  ค่าธรรมเนียมถือว่าแพงครับตามแบบของกองทุน แต่ตัวนี้เป็นกองทุนที่ไปซื้อกองทุนในต่างประเทศอีกที แต่เดี๋ยวผมจะเทียบให้ดูครับว่ากองทุนตัวนี้ซื้อซักเดือนละ 2,000 บาทนี้ค่าธรรมเนียมเท่าไรกัน
ค่าธรรมเนียม KF-HEALTHD

          6. สัดส่วนการลงทุน ตรงนี้สำคัญนะครับ  เราควรพิจารณาด้วยครับว่า  กองทุนที่เราลงทุนนำเงินไปไปลงทุนนั้นหลักๆ แล้วลงทุนในประเทศไหน มีการกระจายความเสี่ยงอย่างไร ลงทุนในหึ่นกลุ่มไหน และบริษัทที่กองทุนนำเงินไปลงทุนหลักๆ คือบริษัทอะไร โดยตรงนี้เราสามารถศึกษาจาก สรุปสาระสำคัญของกองทุน
สัดส่วนการลงทุนของกองทุนหลัก KF-HEALTHD
          ผมใช้หลักการในการคัดเลือกกองทุนประมาณนี้ครับ แต่หากคิดจะลงทุนยาวๆ ควรศึกษาเพิ่มเติมด้านอื่นๆด้วยครับ สำหรับ 5 ข้อด้านบนเป็นเพียงแนวทางครับในการเลือกพิจารณาแบบง่ายๆ ที่สำคัญเราต้องอ่านหนังสือชี้ชวนด้วยนะครับ สำหรับตอนต่อไปผมจะลองมา Review การลงทุนในกองทุน KF-HEALTHD ให้ดูครับ

ไส้อ่อนหมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น