สถิติการเข้าดูหน้า Blog

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เงินของผมหายไปเพราะมือถือเครื่องใหม่


         วันนี้ผมคงต้องซื้อโทรศัพท์มือถือใหม่อีกแล้ว เนื่องจากโทรศัพท์มือถือ ais lava 4.0 ที่ผมซื้อมา 2,500 บาท มีอาการเหมือนจะลาโลก เพราะมันท้ังช้าและเครื่องรวนสารพัดในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ผมจึงลองนั่งคิดอยู่นานว่า นานเท่าไรแล้วที่โทรศัพท์มือถือก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของผม แต่เท่าที่ผมนึกออกโทรศัพท์มือถือในชีวิตผมเปลี่ยนมาแล้วหลายเครื่อง ผมจึงนั่งคิดต่อไปว่าในชีวิตของผมใช้มันไปแล้วกี่เครื่องแล้วมันเป็นเงินเท่าไรแล้ว พอดีวันนี้ได้มีโอกาสลองรื้อตู้เก็บของแล้วเจอมือถือเก่าๆ หลายเครื่องที่ผมไม่ได้ตัดใจให้คนในครอบครัวหรือขายเป็นมือ 2 ไป ผมลองนั่งคิดเล่นๆ ถึงช่วงชีวิตที่ผ่านในสมัยวัยรุ่น ที่มือถือเป็นเหมือนเครื่องมือวัดระดับคุณค่าของตัวผู้ใช้ ทุกวันนี้มันเหมือนตัวชี้วัดฐานนะทางสังคมกันเลยทีเดียว เท่าที่ผมคิดออก ช่วงปี 2546-2558 ประมาณ 13 ปี เริ่มตั้งแต่ศึกษาชั้น ปวช.1 จนถึงจับปริญญาตรีและทำงานมาแล้วอีก 6 ปี ของผม
- 2546 ถึง 2548  nokia 6610 มือถือเครื่องที่ 1  มือ 2 (ราคา 5,000 บาท) เรียน ปวช ปี 1-3
- 2548 ถึง 2552  nokia 7610 มือถือเครื่องที่ 2  (ราคา 8,900 บาท) เรียน ปริญญาตรี ปี 1-4
- 2552 ถึง 2553  i mobile IE3250  มือถือเครื่องที่ 3 (ราคา 3,900 บาท) ทำงานปีที่ 1
- 2554 ถึง 2554  nokia E72 มือถือเครื่องที่ 4 (ราคา 9,900 บาท) ทำงานปีที่ 2
- 2555 ถึง 2557  samsung galaxy note 1 มือถือเครื่องที่ 5 (ราคา 20,000 บาท) ทำงานปีที่ 3-4
- 2557 ถึง 2558  ais lava 4.0 มือถือเครื่องที่ 6 (ราคา 2,500 บาท) ทำงานปีที่ 5
                          และ iPad air  (ราคา 22,000)
- 2558 ถึง ปัจจุบัน  samsung A5 มือถือเครื่องที่ 7 (ราคา 9,600 บาท) ทำงานปีที่ 6

          ผ่านมาแล้ว 13 ปี รวมแล้วเท่าที่จำได้ก็น่าจะประมาณ 81,800 บาท  ตกปีละ 6,200 บาทได้ นี้ยังไม่รวมค่าบริการรายเดือนของแต่ละค่ายที่ผมจ่ายมา 13 ปี จนจำตัวเลขไม่ได้แล้ว ผมก็ได้แต่ถอนหายใจแรงๆ หลังจากที่ผมลองรวบรวมรายการเหล่านี้เสร็จ เพราะผมอาจมีเงินเก็บเกินจำนวนนี้แน่นอนเพราะทำงานมาแล้วกว่า 6 ปี แต่หากเงินสดจริงๆ ผมมีไม่ถึงเท่านี้แน่ ผมเคยได้ยินคนพูดของคนที่ทำงานมานานแล้วว่า "คนสมัยนี้เก็บเงินได้น้อยกว่าคนสมัยก่อนเยอะ เพราะสิ่งหลอกล่อมันเยอะกว่า ไหนจะมือถือเครื่องใหม่ ไปท่องเที่ยวที่ต่างๆทั้งในและต่างประเทศ อาหารบุฟเฟ่ต์สังสรรค์กับเพื่อนๆ เบียร์เหล้าทุกวันเงินเดือนออก" หรือแม้แต่ความเป็นอยู่ ที่หากเราบ่นว่าร้อนก็จะมีคนถามทุกครั้งว่าไม่ได้เช่าห้องแอร์อยู่หรอ ซึ่งสมัยก่อนมันอาจจะมีสิ่งล่อตาล่อใจ แต่คงไม่มากเท่าสมัยนี้ คำพูดนี้ผมได้ฟังครั้งแรกผมนึกขำอยู่ในใจ ว่าเราไม่มีทางปล่อยตัวปล่อยใจให้หลงระเริงหมดเงินหมดทองไปกับของเหล่านี้แน่นอน แต่วันนี้คำพูดนี้เหมือนมันวิ่งวันเวียนอยู่ในหัวของผม อย่างกับภาพหลอน เมื่อผมมองไปรอบห้องพักของผม มันมีทั้งเครื่องเล่น DVD ที่ตอนนี้การดูหนังออนไลท์ง่ายการไปเช่าหนังที่ร้าน ทีวี เครื่องซักผ้า ตู้เย็น พัดลม คอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ เหมือนเริ่มลอยขึ้นและหมุนรอบตัวผมราวกับหนังสยองขวัญ คำถามคือ ? อะไรละที่มันจำเป็นหรือเป็นแค่สิ่งอำนวยความสะดวกที่หากไม่มีเราก็จะไม่สะดวกกันแน่ แต่ก่อนที่ผมจะเตลิดเปิดเปิงไปกว่านี้ กับคำตอบที่ว่าเงินเก็บผมหายไปไหนหมด ผมขอกลับมาที่โทรศัพท์มือถือก่อนจะดีกว่า

          ผมลองจินตาการถึงการทำงานเมื่อสมัยเริ่มต้นทำงานใหม่ๆ เปรียบเทียบกับสมัยนี้ เริ่มแรกที่ผมทำงานใหม่ๆ เราใช้กล้องดิจิตอลของโรงงานในการถ่ายภาพ ตัวสินค้าที่เราพบปัญหา หรือกระบวนการผลิตที่เราต้องการจะปรับปรุงเพื่อมาวิเคราะห์ หรือในการติดต่อกันภายในโรงงานที่ยากจะเดินหากันเจอ เราก็ใช้วิทยุสื่อสารในการติดต่อหากัน ไม่ก็โทรศัพท์ภายในที่สามารถโทรหากันระหว่างแผนกได้ แต่เหมือนโลกทุกวันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว เราสามารถใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปงานและส่งเข้าโปรแกรมแชทต่างๆ เช่น Line เพื่อแจ้งหรือสอบถามระหว่างบุคคลอื่นๆ ในองค์กรได้ทันที โดยที่อีกฝ่ายไม่ต้องรอข้อมูลจากกล่องดิจิตอลที่ต้องไปถ่ายรูป นำกล้องมาต่อเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อโอนถ่ายข้อมูลแล้วค่อยมาส่ง E-mail แจ้งปัญญา ซึ่งกว่าจะจบกระบวนการก็ช้าเกินไปแล้ว หรือในบางที่ทำงานก็อาจทำเป็นกลุ่ม Line สำหรับที่ทำงาน โดยดึงเอาบุคลากรที่เกี่ยวข้องมาอยู่ในกลุ่มเดี๋ยวกัน แบบว่าส่งข้อมูลทีเดียว ภาพสินค้าที่มีปัญหาสามารถอยู่ในโทรศัพท์มือถือทุกคนได้อย่างทันทวงที ถึงตรงนี้เคยมีเพื่อนผมบ่นว่านี้คือต้นทุนของใครกันแน่ของเราหรือเจ้าของกิจการที่เราทำงานให้กันแน่? แต่นี้ก็ยังไม่รวมถึงกลุ่มแชทสารพัดกลุ่มไม่ว่าจะกลุ่มญาติพี่น้อง กลุ่มเพื่อนสมัยเรียนมัธยมต้น มัธยมปลาย กลุ่มเพื่อนมหาวิทยาลัย กลุ่มที่ทำงาน กลุ่มหุ้น อีกสารพัดมากมาย อาจมีกลุ่มเกมส์ด้วย

          ผมได้แต่คิดว่าหากผมไม่หมุนตามโลก ผมจะเป็นอย่างไร หากผมยังใช้แค่เท่าที่พอดีของผม ผมยังจะวิ่งทันไหมกับโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วแบบนี้?  ผมก็อาจจทันบ้างไม่ทันบ้างนะครับ แต่อีกหลายคนคงไม่ทันในเรื่องานอย่างแน่นอนในบางองค์กร แต่สิ่งที่ผมได้พยามยามอธิบายมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่ข้ออ้างในการซื้อโทรศัพท์มือถือเพื่องาน หรือเพียงเพื่อการให้เรามีตัวตนอยู่ในสังคมทุนนิยมแบบนี้เลย แต่คำถามที่ผมมีวันนี้ คือ กว่าที่ผมจะตายผมต้องใช้เงินเท่าไรเพื่อมันกันแน่ ?

          ทุกวันนี้เมื่อผมคงดำเนินชีวิตอย่างปกติของผมอยู่นั้น สิ่งนึ่งที่ผมสังเกตคือ ทุกคนที่อยู่รอบตัวผมมีโทรศัพท์มือถือใช้ ในบางครั้งผมเห็นคนแก่ พยามใช้มือถือเพื่อแชทคุยกับลูกหลาน ซึ่งในบางที่พวกเขาอาจไม่ต้องรอถึงปีใหม่หรือสงกรานต์เพื่อที่จะได้เห็นหน้าลูกหลานบ่อยได้เท่าที่พวกเขาคิดถึง เด็กมัธยมต้นที่ใช้โทรศัพท์มือถือเครื่องละ 20,000 กว่าบาท แชทคุยกับเพื่อนอย่างสนุกสนานบนรถประจำทาง หรือแม้แต่การใช้พวกโปรแกรม Line โทรหากันเพื่อประหยัดค่าโทร  เราสามารถเหมือนได้อยู่ใกล้และเห็นความเป็นไปของเพื่อนๆใน facebook บางคนก็อัพเดตสถานะทุก 5 นาที บางคนก็เที่ยวทุกสัปดาห์ บางคนซื้อรถใหม่ ซื้อบ้านใหม่ ซื้อโทรศัพท์มือถือใหม่ กินอาหารหรูๆ จนเหมือนการแสดงการมีตัวตนอยู่ในสังคมจนเกินพอดี

          สุดท้ายนี้ ผมได้แต่คิดว่ามันควรจะเป็นแบบไหนกันแน่ ค่าใช้จ่ายในการซื้อโทรศัพท์มือถือพวกนี้ ปีละ 6,200 บาท เยอะไปสำหรับผมหรือคนอื่นไหม ก็คงแล้วแต่รายได้ของแต่ละคน แต่วันนี้ผมคิดได้แล้วว่าเงินที่ควรจะเป็นเงินเก็บผมบางส่วนหายไปไหน สิ่งที่ผมอยากจะบอกในบทความนี้คือ "เทคโนโลยี ยิ่งตามก็ยิ่งไกล ใช้เท่าที่จำเป็นจะดีกว่า"

น้องซิ่ง โลกสวย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น