สถิติการเข้าดูหน้า Blog

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

จากออมเหรียญสู่ออมแบงค์

          นานมาแล้วผมเริ่มออมเงินโดยการเก็บเล็กผสมน้อยครับ  โดยเริ่มออมจากเหรียญที่เป็นเศษจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน. เมื่อได้เยอะมากๆ ผมก็จะนำเหรียญเหล่านี้นับใส่ถุงละร้อยไปฝากธนาคารออมสินแล้วก็นำไปซื้อสลากออมสินใบละ 1,000-2,000 บาท (สลากออมสิน 3 ปีหน่วยละ 50 บาท) หลังมานี้ก็เอาเงินจากการขายสลากไปซื้อหุ้นไว้บ้างแต่ก็ยังทำเช่นนี้เป็นประจำครับ  สิ่งหนึ่งที่ผมพบและคิดว่าเป็นปัญหาคือการนำเหรียณไปฝากธนาคารนั้นเริ่มเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกเอาเสียเลยสำหรับชีวิตมนุษย์เงินเดือนอย่างผม 

         ทำไมถึงไม่สะดวก?  เพราะการนำเหรียณไปฝากธนาคารนั้น ผมต้องนำเหรียญไปฝากในวันธรรมดา ที่สาขานอกห้างเพราะสาขาในห้างสรรพสินค้ามีคนไปใช้บริการจำนวนมาก  ซึ่งไม่สะดวกหากเราจะนำเงินไปแล้วต้องให้พนักงานนับเหรียญให้  โอกาสไปธนาคารในวันธรรมดามันชั่งน้อยมากในรอบหนึ่งปีของชีวิตมนุษย์เงินเดือน. เพราะในวันหยุดของเราธนาคารก็หยุดเช่นเดียวกับเราเหมือนกันครับ นั้นคือเหตุผลให้ผมเริ่มที่จะหาแนวทางใหม่ในการออมเพื่อให้ผมสะดวกขึ้น. 

         ผมจึงเริ่มใหม่โดยการพยายามใช้เงินเหรียญที่ได้ในชีวิตประจำวันแทนแล้วมาออมธนบัตรใบละ 50 บาทแทน. แรกๆ  ต้องยอมรับเลยครับว่าลำบากหนักกว่าเดิมอีกเพราะผมเอาเงินเหรียญใส่รวมกับกระเป๋าสตงค์แบงค์ไปเลย ใส่รวมกันไปจนกระเป๋าสตางค์ตุงไปด้วยเหรียญเลยทีเดียว  ยิ่งตอนจะใช้ยิ่งลำบากครับเพราะกว่าจะหยิบได้แต่ละเหรียญเช่นตอนจ่ายค่าอาหารเสียเวลานับมากๆ  และเริ่มคิดว่าการจ่ายเล็กๆ น้อยๆ โดยธนบัตรนี้น่าจะสะดวกที่สุดแล้ว  ตัวผมก็ลองอีกวิธีโดยการใส่เหรียญในกระเป๋ากางเกงเลยทีนี้หากจะลวงกระเป๋าหยิบเงินเหรียญออกมาน่าจะสะดวกสุด  แต่ก็พบความจริงที่ว่าเงินเหรียญหากมันมีจำนวนมากก็หนักกระเป๋ากางเกงเดินกันไปไหนไหนมาไหนมีเสียงซะด้วย  และที่หนักที่สุดคือวันดีคืนจะซักผ้าแล้วลืมเอาเหรียญออกจากกระเป๋าผ้าที่จะซักเมื่อไรตอนปั่นแห้งเครื่องซักผ้ากับเหรียญปะทะกันเมื่อไรละก็เสียงดังสนั่นหวั่นไหวไปทั้งห้องเลย

        จากการสังเกตผมพบว่าเพื่อนผู้หญิงหลายคนมีกระเป๋าเงินหลายใบ  บางคนมีทั้งกระเป๋าใสธนาบัตร  กระเป๋าใส่เงินเหรียญ  กระเป๋าใส่การ์ดพวกบัตรเครดิตบัตร ATM เยอะแยะมากมาย  แต่กระเป๋าใสเหรียญดูเป็นไอเดียที่น่าสนใจที่สุด  ว่าแล้วผมก็เอาวิธีนี้แหละครับกระเป๋าใส่เหรียญเลย  ผมไม่รอช้าครับไปหาซื้อกระเป๋าใส่เหรียญมาจากตลาดนัดครับ  สำหรับกระเป๋าใบแรกของผมคือพูดไปแล้วก็เขินครับกระเป๋าใสเหรียญพวกนี้แทบจะไม่มีแบบที่เหมาะกับผู้ชายเลย  กระเป๋าใบแรกของผมนั้นเป็นกระเป๋าใบเล็กๆ ทรงออกแนวกลมๆ แบนๆ หน่อยแถมเป็นรูปแตงโมสีสันสดใสมากๆ คือเวลาจะลวงออกมาใช้จ่ายอะไรก็เขินมากๆ แต่ต้องยอมรับเลยครับว่าสะดวกมากๆ  ในกระเป๋ามีเหรียญอยู่ร่วม 100 บาท  เวลาอยู่ที่ทำงานโดยมากเราก็ใช้จ่ายอยู่ไม่ค่อยจะเกินครั้งละร้อยซักเท่าไรอยู่แล้ว เช่น จ่ายค่าข้าวครั้งละ 25-30 บาท  ค่ากาแฟ 25 บาท กระเป๋าใส่เงินเหรียญจึงเป็นกระเป๋าที่วางทิ้งไว้หน้าคอมพิวเตอร์พอเพื่อนที่ทำงานชวนไปดื่มกาแฟหรือไปทานข้าวก็คว้าไปได้ทันที  เพราะกระเป๋าสตางค์แบบผู้ชายที่เราใส่ธนบัตรใส่การ์ดต่างๆ ไว้ผมจะเอาใส่กระเป๋าสะพายไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานซะมากกว่า  พกไปพกมาจะหายซะอีกอันนี้ไม่รู้มีใครทำแบบผมไหมจนหลังๆ มานี้ผมก็สามารถหาซื้อกระเป๋าใส่เหรียญแบบผู้ชายๆ ได้สักที

         สำหรับการออมเงินโดยการเก็บธนบัตรใบละ 50 บาทนั้นผมจำได้ว่ามันเป็นวิธีที่แพร่หลายมานานแล้ว  คุ้นๆ ว่าน่าจะมาจากสาวๆ ห้องแป้งในเว็บ pantip.com นะครับ แต่เป็นวิธีที่ใช้ได้จริงๆ เพราะธนบัตรใบละ 50 บาท นั้นเราจะไม่ค่อยได้เจอบ่อยหนักในชีวิตประจำวันของเรา คือจะเก็บธนบัตรใบละ 20 บาทคงจะไม่ไหวแต่นอนครับ ลองสมมุติว่าเราซื้อของราคา 20 บาทไปแล้วจ่ายด้วยธนาบัตรใบละ 100 บาท รับรองเลยครับว่าได้รับธนบัตรแบงค์ 20 บาทมา 4 ใบเป็นเงินทอนซะโดยมากแน่นอน แต่เรื่องน่าประหลาดใจของธนบัตรใบละ 50 บาท ในช่วงหลายเดือนที่ผมและเพื่อนๆ ที่ทำงานเก็บมาทุกเดือนนั้นก็คือตอนต้นเดือนไม่เจอจะเจอแต่พอปลายเดือนไส้เริ่มแห้งกับเจอเยอะมาก  บางวันเจอถึง 3-4 ใบในช่วงจะสิ้นเดือนเลยทีเดียว ไม่รู้ว่าคนอื่นๆ เจออย่างผมบ้างไหมนะ  ตอนนี้ผมก็ใช้วิธีนี้มาเกือบปีแล้วครับ  ต้องยอมรับเลยว่าได้เงินเก็บและความสะดวกเพิ่มขึ้นเยอะพอสมควรครับ  แต่การเก็บธนบัตรใบละ 50 บาทนั้นผมจะแยกบัญชีออกจากเงินออมส่วนอื่นๆ นะครับ เพราะร่วมกับบัญชีเงินเก็บอื่นๆ เมื่อไรละก็มีอันต้องเอาไปใช้ทุกที ซื้อหุ้นบ้าง กองทุนบ้าง ตามความเห็นผมจะได้ผลจริงๆ ควรแยกนะครับ ของผมเองก็จะเอาเงินส่วนนี้ใส่บัญชีธนาคารออมสินไว้ (ไม่ได้ทำ ATM) นานๆ ทีก็ถอนออกมาซื้อสลากออมสินบ้างแต่ยังคงให้เงินจำนวนนี้วนอยู่ในบัญชีนี้ไปก่อนเพรายังคิดไม่ออกว่าจะเอาไปลงทุนต่อยอดอะไรดี

         ในการออมธนบัตรใบละ 50 บาทให้สนุกนั้นเราควรหาแนวร่วมด้วยนะครับ เช่น เพื่อร่วมงานหรือญาติพี่น้องเพื่อมาคุยกันว่าเรานั้นในแต่ละเดือนเจอธนบัตรแบงค์ 50 บาทกันกี่ใบ ใครได้มาก ใครได้น้อย ผมว่าก็น่าสนุกไปอีกแบบแถมไม่น่าเบื่อด้วยครับ ถึงวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมกันมานานมากแล้วแต่ผมว่ามันเป็นวิธีที่ได้ผลอย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียวครับ  อย่างล่าสุดผมเคยเห็นกระทู้ในเว็บไซต์ pantip.com เล่าเรื่องการออมธนบัตรใบละ 50 บาท เพื่อเอาไว้เที่ยวประจำปีออมไว้ไปเที่ยวก็น่าสนใจไม่น้อยนะครับ 

ไส้อ่อนหมา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น