สถิติการเข้าดูหน้า Blog

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของประกันชีวิต (ตอนที่ 2)

           2.แบบตลอดชีพ (Whole Life) สำหรับรูปแบบนี้เป็นประกันแบบที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ คือ เป็นลักษณะของการประกันแบบสะสมทรัพย์ครบอายุ 100 ปี (ปัจจุบันบางบริษัทใช้อายุครบ 80 ปี หรือ 90 ปี เป็นเกณฑ์การออกแบบตลอดชีพ) ถ้าอายุถึง 100 ปี ก็รับทุนประกันคืน การประกันแบบตลอดชีพถือเป็นการสร้างมรดกเงินสดให้แก่ทายาท หรือในกรณีนักธุรกิจ ที่มีหนี้สินกับสถาบันการเงิน ถ้าผู้บริหารเสียชีวิต  ในขณะที่ธุรกิจยังมีหนี้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินก็จะมีเงินใช้หนี้แทนได้  การประกันแบบตลอดชีพ มีระยะเวลาชาระเบี้ยประกัน  เช่น 10 ปี, 20 ปี หรือชาระครบอายุ 50, 55, 60 ปี  หรือชาระตลอดสัญญา
ข้อดี
     - เหมาะกับผู้ที่ต้องการเป็นมรดกให้ลูกหลาน เช่น การทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพให้ลูก
     - สำหรับต้องการเพื่อที่จะเป็นเงินใช้ยามเกษียณ หากกลัวว่าลูกหลานจะไม่เหลียวแลยามแก่เฒ่า ก็อาจทำประกันในนามของตัวเอง และระบุผู้รับผลประโยชน์เป็นลูกหลาน หากเราอายุยืนกว่าที่คิดแล้วลูกหลานไม่เหลียวแล เราก็สามารถขอเวณคืนกรมธรรม์ เพื่อให้สามารถนำเงินสดจำนวนนี้มาไว้ใช้ยามเกษียณได้ครับ
     - สามารถเวณคืนเป็นเงินสดได้ในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต้องใช้เงิน

          ความแตกต่างระหว่างแบบกำหนดระยะเวลากับแบบตลอดชีพ คือ แบบตลอดชีพสามารถเวณคืนเป็นเงินสดได้ครับ (แล้วแต่เงือนไขว่าตั้งแต่ปีที่เท่าไรเป็นต้นไปโดยมากจะปีที่ 2 ) และสบายใจได้ว่าเราจะยังมีเงินใช้ ไม่เสียเปล่า

ข้อเสีย
        มีข้อดีย่อมมีข้อเสียครับ คือแบบตลอดชีพจะมีเบี้ยประกันที่สูงกว่าแบบกำหนดระยะเวลา คนที่เกิดจะทำประกันแบบนี้อาจต้องพิจารณาแล้วว่า  แนวโน้มตนเองอายุอาจจะต้องยืนยาวครับ หรืออาจกลัวไม่มีใครเลี้ยงตอนแก่ เพราะกว่าจะได้เงินคืนนานมากครับ



ไส้อ่อนหมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น